'..อุปสรรคมากมายให้ฝ่าฟัน.. จง เชิดหน้า ยิ้มรับมันด้วยมั่นใจ'


 พรนิภา โคตรสมบูรณ์ คณะ : ศึกษาศาสตร์ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา รหัสนิสิต 52010516026

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความ บกพร่องทางการเห็น

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความ บกพร่องทางการเห็น

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจะมีลักษณะแตกต่างไปจากเด็กบกพร่อง ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากเด็กเหล่านี้ต้องการให้คนอื่นปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนคนปกติ แม้ว่าบางครั้งจะต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น แต่งโดยสามัญสำนึกส่วนใหญ่แล้วต้องการช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด พัฒนาการทางภาษาของเด็กช้ากว่าเด็กปกติเล็กน้อย แต่ทักษะภาษาไม่แตกต่างกัน ความสามารถทางสติปัญญาเหมือนเด็กปกติ แต่การสร้างความคิดรวบยอดต่อสิ่งต่าง ๆ ช้ากว่า ทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กจะเป็นไปด้วยความล่าช้า บางครั้งมีปัญหาจึงต้องฝึกให้รู้จักสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง การปรับตัวของเด็กมีบ้างในกรณีที่สังคมมีเจตคติที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยสภาพรวมเด็กสามารถอยู่ในสังคมเพื่อน ๆ เด็กปกติได้ดี ดังนั้นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจึงควรจัดดังนี้

1. หลักสูตรเนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีข้อจำกัดทางสายตา จนไม่สามารถใช้สายตาที่เหลือยู่ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ได้ ดังนั้นหลักสูตรสำหรับเด็กเหล่านี้จึงต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็กโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเด็กตาบอด อย่างไรก็ตามโดยสภาพรวมแล้วหลักสูตรควรใช้เหมือนกับเด็กปกติให้มากที่สุด

2. สิ่งที่จำเป็นการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีอยู่ 4 ประการ
2.1 อักษรเบรลล์ (Braille) การสอนอักษรเบรลล์กับเด็กที่บกพร่องทางการเห้นนี้ใช้กับเด็กที่ตาบอดสนิท หรือมีการเห็นหลงเหลืออยู่น้อยมากจนไม่สามารถใช้สายตาเรียนรู้ได้

2.2 การใช้การเห็นทีเหลืออยู่ ด้วยปัญหาจากการอ่านอักษรเบรลล์และด้วยความจริงที่ว่าผู้บกพร่องทางการเห็น ส่วนมาก ยังมีการเห็นที่เหลืออยู่บ้างที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ ผู้บกพร่องทางการเห็นในปัจจุบันจึงได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้อ่านด้วยสาย ตาให้มากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันความก้าวหน้าทางการพิมพ์ สามารถปรับขยายให้ตัวอักษรมีขนาดเท่าใดก็ได้ที่เหมาะสมกับระดับการเห็นของ เด็ก ประกอบกับสามารถใช้แว่นขยายหรือจอภาพโทรทัศน์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฉายขยายตัวอักษรให้ตัวโตได้หลายเท่าของตัวพิมพ์ปกติ

2.3 การฝึกทักษะการฟัง (Listening Skills) ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีสูง ทำให้ทักษะการฟังของคนบกพร่องทางการเห็นมีมากขึ้นด้วย การใช้ทักษะการฟังมีความสะดวกและรวมเร็วกว่าการใช้อักษรเบรลล์เป้นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันผู้บกพร่องทางการเห็นเป็นจำนวนมากจึงนิยมใช้การฟังมากขึ้น ฟังจากเทป หรือเครื่องที่บันทึกเสียงคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเป็นลำดับ อย่างก็ตามการใช้การฟังมากเกินไปจะทำให้มีข้อเสียคือ เด็กที่พอมองเห็นเหลืออยู่บ้างไม่พยายามใช้สายตาที่เหลืออยู่ของตน ประการต่อมาการบันทึกเสียงไม่สามารถบันทึกสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างได้ทั้งหมด

2.4 การฝึกการเคลื่อนไหว (Mobility Traning) ถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อผู้บกพร่องทางการเห็นอย่างมาก เพราะจะต้องใช้ในการเดินทางและเคลื่อนไหวด้วยตนเองไปในที่ต่าง ๆ โดยอิสระการเคลื่อนไหวจำเป็นต้องฝึกคือ การทำความคุ้นเคยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหว การทำความคุ้นเคยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม ว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน จะใช้ประโยชน์อย่างไร หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือให้รู้ตัวเองว่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในลักษณะใดบ้าง ส่วนการเคลื่อนไหวเป้นการสอนให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย การเคลื่อนไหวสามารถใช้คนนำทาง ใช้สุนัขนำทาง ใช้ไม้เท้า และใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิคส์








ที่มา http://www.nrru.ac.th/web/Special_Edu/2-5.html#4