'..อุปสรรคมากมายให้ฝ่าฟัน.. จง เชิดหน้า ยิ้มรับมันด้วยมั่นใจ'


 พรนิภา โคตรสมบูรณ์ คณะ : ศึกษาศาสตร์ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา รหัสนิสิต 52010516026

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปการเรียนรายวิชา 0503306

งานชิ้นที่ 1
ขั้นตอนการทำหนังก็จะแบ่งเป็นสามส่วน
Pre production
1.บท
2.หาข้อมูล
3.หาตัวแสดง
4.หาสถานที่ถ่ายทำ
Production
เป็นช่วงของการถ่ายทำ
Post Production
ตัดต่อ และใส่เสียงเพลงประกอบ


งานชิ้นที่ 2

1. ด้านเนื้อหา
มีการจัดเนื้อหาในแต่ละบทได้เป็นอย่างดี โดยมีการแยกหน่วยการเรียนรู้ ให้เข้าเรียนรู้ได้ตลอด เนื้อเหมาะสมกับผู้เรียนและสอดคล้องตามจุดประสงค์ตามเรียนรู้และมีการทำแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อประเมิณประสิทธิภาพในการเรียนของตัวผู้เรียนเอง
2. ด้านการจัดการเรียนการสอน
เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนได้เรียนรู้เอง เป็นการเรียนรู้ได้ตลอดเวลาสามารถทบทวนเนื้อหาบทเรียนได้ตลอดเวลา
3. ด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอน (LMS)
เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายที่นำเนื้อหาในบทเรียนขึ้นระบบพร้อมแบบฝึกหัด ซึ่งเราสามารถเข้าบทเรียนได้อย่างสะดวกและไม่จำกัดเวลา สถานที่ ด้วย ทั้งยังมีกระดาษสนทนา และการแยกเป็นระบบของหน่วยการเรียน ทำให้เข้าใจเนื้อหาบทเรียนมากยิ่งขึ้น
4. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียน โดยเน้นทักษะการแก้ปัญหา การเรียนรู้ด้วยตนเอง และกลุ่ม
เป็นการทำให้ผู้เรียนมีกระบวนการเรียนรู้ที่เร็วขึ้น มีการรเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นหลักทำให้ผู้เรียนและผู้สอนเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความ บกพร่องทางการเห็น

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความ บกพร่องทางการเห็น

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจะมีลักษณะแตกต่างไปจากเด็กบกพร่อง ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากเด็กเหล่านี้ต้องการให้คนอื่นปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนคนปกติ แม้ว่าบางครั้งจะต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น แต่งโดยสามัญสำนึกส่วนใหญ่แล้วต้องการช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด พัฒนาการทางภาษาของเด็กช้ากว่าเด็กปกติเล็กน้อย แต่ทักษะภาษาไม่แตกต่างกัน ความสามารถทางสติปัญญาเหมือนเด็กปกติ แต่การสร้างความคิดรวบยอดต่อสิ่งต่าง ๆ ช้ากว่า ทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กจะเป็นไปด้วยความล่าช้า บางครั้งมีปัญหาจึงต้องฝึกให้รู้จักสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง การปรับตัวของเด็กมีบ้างในกรณีที่สังคมมีเจตคติที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยสภาพรวมเด็กสามารถอยู่ในสังคมเพื่อน ๆ เด็กปกติได้ดี ดังนั้นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจึงควรจัดดังนี้

1. หลักสูตรเนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีข้อจำกัดทางสายตา จนไม่สามารถใช้สายตาที่เหลือยู่ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ได้ ดังนั้นหลักสูตรสำหรับเด็กเหล่านี้จึงต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็กโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเด็กตาบอด อย่างไรก็ตามโดยสภาพรวมแล้วหลักสูตรควรใช้เหมือนกับเด็กปกติให้มากที่สุด

2. สิ่งที่จำเป็นการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีอยู่ 4 ประการ
2.1 อักษรเบรลล์ (Braille) การสอนอักษรเบรลล์กับเด็กที่บกพร่องทางการเห้นนี้ใช้กับเด็กที่ตาบอดสนิท หรือมีการเห็นหลงเหลืออยู่น้อยมากจนไม่สามารถใช้สายตาเรียนรู้ได้

2.2 การใช้การเห็นทีเหลืออยู่ ด้วยปัญหาจากการอ่านอักษรเบรลล์และด้วยความจริงที่ว่าผู้บกพร่องทางการเห็น ส่วนมาก ยังมีการเห็นที่เหลืออยู่บ้างที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ ผู้บกพร่องทางการเห็นในปัจจุบันจึงได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้อ่านด้วยสาย ตาให้มากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันความก้าวหน้าทางการพิมพ์ สามารถปรับขยายให้ตัวอักษรมีขนาดเท่าใดก็ได้ที่เหมาะสมกับระดับการเห็นของ เด็ก ประกอบกับสามารถใช้แว่นขยายหรือจอภาพโทรทัศน์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฉายขยายตัวอักษรให้ตัวโตได้หลายเท่าของตัวพิมพ์ปกติ

2.3 การฝึกทักษะการฟัง (Listening Skills) ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีสูง ทำให้ทักษะการฟังของคนบกพร่องทางการเห็นมีมากขึ้นด้วย การใช้ทักษะการฟังมีความสะดวกและรวมเร็วกว่าการใช้อักษรเบรลล์เป้นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันผู้บกพร่องทางการเห็นเป็นจำนวนมากจึงนิยมใช้การฟังมากขึ้น ฟังจากเทป หรือเครื่องที่บันทึกเสียงคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเป็นลำดับ อย่างก็ตามการใช้การฟังมากเกินไปจะทำให้มีข้อเสียคือ เด็กที่พอมองเห็นเหลืออยู่บ้างไม่พยายามใช้สายตาที่เหลืออยู่ของตน ประการต่อมาการบันทึกเสียงไม่สามารถบันทึกสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างได้ทั้งหมด

2.4 การฝึกการเคลื่อนไหว (Mobility Traning) ถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อผู้บกพร่องทางการเห็นอย่างมาก เพราะจะต้องใช้ในการเดินทางและเคลื่อนไหวด้วยตนเองไปในที่ต่าง ๆ โดยอิสระการเคลื่อนไหวจำเป็นต้องฝึกคือ การทำความคุ้นเคยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหว การทำความคุ้นเคยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม ว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน จะใช้ประโยชน์อย่างไร หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือให้รู้ตัวเองว่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในลักษณะใดบ้าง ส่วนการเคลื่อนไหวเป้นการสอนให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย การเคลื่อนไหวสามารถใช้คนนำทาง ใช้สุนัขนำทาง ใช้ไม้เท้า และใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิคส์








ที่มา http://www.nrru.ac.th/web/Special_Edu/2-5.html#4

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มุมกล้องของแต่ละ SHOT


  • - ECU ( Extreme Close up )แสดงดวงตา หรือปากของนักแสดง หรือภาพระยะใกล้ที่สุด เป็นขนาดภาพที่ต้องการนำเสนอ รายละเอียดเฉพาะจุดหรือเฉพาะส่วนของวัตถุ บุคคลและเหตุการณ์นั้นๆ เช่น ECU ภาพดวงตา
  • - CU ( Close up ) or (Close shot ) แสดงใบหน้าของนักแสดง หรือ prop เป็น ขนาดของภาพระยะใกล้ใช้นพเสนอให้เห็นรายระเอียดของวัตถุและบุคคลอย่างชัดเจน ใกล้ชิด เช่น CU คน หมายถึงขนาดของภาพที่เห็นคนในกรอบภาพตั้งแต่หน้าอกขึ้นไป ซึ่งระยะนี้จะสามารถถ่ายทอด ยำเสนอสีหน้าอารมณ์ และความรู้สึกเป็นหลัก
  • - MS (MIDIUM SHOT) เป็น shot ที่แสดงจากเอวของนักแสดงขึ้นไป หรือ ระยะปานกลาง จะเห็นภาพวัตถุหรือบุคคลลักษณะเด่นๆ ปานกลาง ถ้าเป็น MS บุคคลก็จะเห็นบุคคลตั้งแต่สะโพก หรือเอวขึ้นไป ซึ่งขนาดนี้เป็นขนาดที่จะรับรู้ท่าทางของบุคคลนั้นๆ ได้ แต่ไม่ค่อยจะได้รับรู้ถึงอารมณ์และความรู้สึกของบุคคลนั้นเท่าไรเลย
  • - LS (LONG SHOT) เป็น master shot ที่แสดงทั้งนักแสดงและสถานที่ หรือขนาดภาพระยะไกล เป็นขนาดภาพที่เห็นวัตถุบุคคลและเหตุการณ์ครบถ้วนโดยรวมๆ ถ้าเป็นบุคคล หมายถึงภาพเต็มตัวของบุคคลนั้น ตั้งแต่หัวจรดเท้าไปพร้อมๆ กับเห็นสภาพแวดล้อมหรือสถานที่นั้นด้วย
  • - ELS (EXTREME LONG SHOT) คือ ส่วนมากแล้วจะเป็น shot ที่ใช้โชว์สถานที่ของ scene หรือวิว ขนาดไกลที่สุด เป็นขนาดที่เน้นสภาพแวดล้อม หรือสถานที่โดยรวมๆ เพื่อบอกบรรยากาศ ถ้าจะมีวัตถุหรือบุคคล ก็เป็นเพียงช่วยเสริมสถานที่หรือสภาพแวดล้อมให้สมบูรณ์ ดูมีชีวิตเหมือนจริงเท่านั้น จะเห็นวัตถุหรือบุคคลเล็กมากๆ ไม่สามรถรับรู้การกระทำ หรือการแสดงออกได้ชัดเจน
บางครั้งในการกำหนดภาพหากเราต้องการจะระบุรายละเอียดอย่างเฉพาะเจาะจงที่จะให้ เห็นในกรอบภาพหลักโดยไม่แน่ใจว่าจะเป็นขนาดภาพใดดี ก็อาจจะบอกลักษณะภาพโดยกว้างๆได้ เช่น
- TWO SHOT คือให้เห็นรายละเอียดบุคคล 2 คน ภายในกรอบ
- THREE SHOT ให้เห็นภาพ 3 บุคคลภายในกรอบภาพ
- GROUP SHOT ให้เห็นคนทั้งกลุ่มครบถ้วนภายในกรอบภาพ
- KNEE SHOT ให้เห็นคนตั้งแต่เข่าขึ้นไป
- THIGH SHOT ให้เห็นคนตั้งแต่หน้าขาขึ้นไป
- WAIST SHOT ให้เห็นคนตั้งแต่เอวขึ้นไป
- BUST SHOT ให้เห็นคนครึ่งตัว หรือ หน้าอกขึ้นไป
- FULL FIGURE SHOT, FULL SHOT ให้เห็นคนครบถ้วนทั้งตัว
- OVER THE SHOULDER SHOT ภาพเห็นผ่านไหล่ของอีกบุคคล



อ้างอิง : http://0503742ud21.multiply.com/journal/item/4